สมาชิก etv

สมาชิก etv
วิไลพร รุจิธรรม 6240

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

ประเมินผลงาน 100 คะแนน

เพื่อน ม.6/2 ทุกๆคน ช่วยมาคอมเม้นให้ด้วยน้าค่ะ
ใครคอมเม้นให้เค้าขอให้ติดมหาวิทยาลัยดีๆกันไปเลยนะ
......สาธุ........

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคลื่น 20 เว็บ

ข้อมูลและชื่อเว็บไซค์

คลื่นกล

คลื่นกลคืออะไร
ในระบบใดๆ ก็ตาม ในธรรมชาติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไปจากสภาวะสมดุล ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่งในระบบอันเกิดจากการรบกวนอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วการเปลี่ยนแปลงนั้นสามารถแพร่ขยายไปยังส่วนอื่นๆของระบบนี้ อาจเรียกการแพร่ขยายไปของการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า คลื่น

เช่น การใช้มือจุ่มน้ำในขัน ในตุ่ม ในสระ ในแม่น้ำลำคลอง หรือขว้างวัตถุลงไปในน้ำ เราจะมองเห็นผิวน้ำกระเพื่อม แล้วแผ่เป็นวงกลมออกไปโดยรอบซึ่งลักษณะนี้ว่า คลื่นน้ำเกิดขึ้นบนผิวน้ำ

การจำแนกคลื่น

เราสารถจำแนกได้หลายวิธี เช่น

1. จำแนกคลื่นตามความจำเป็นของการใช้ตัวกลางในการแผ่ โดยแบ่งได้ 2 ชนิดคือ

1.1 คลื่นกล ( Mechanical Wave ) เป็นคลื่นที่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางในการแผ่ คลื่น

ประเภทนี้ได้แก่ คลื่นน้ำ คลื่นน้ำในเส้นเชือก คลื่นเสียง

1.2 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( Electromagnetic Wave ) เป็นคลื่นที่เกิดจากการเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าในทิศทางตั้งฉากซึ่งกันและกัน เช่น คลื่นวิทยุ เรดาร์ ไมโครเวฟ แสง รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์

2. จำแนกคลื่นตามลักษณะของการสั่นของแหล่งกำเนิดหรือตามลักษณะ

การแผ่ การจำแนกประเภทนี้ แบ่งคลื่นออกได้ 2 ชนิด

2.1 คลื่นตามขวาง ( Transverse Wave ) เป็นคลื่นที่มีทิศทางการ

สั่นของตัวกลางหรือทิศทาง ตั้งฉากกับทิศทางการแผ่ ( ทิศทางการเคลื่อนที่

ของคลื่น ) เช่น คลื่นในเส้นเชือก คลื่นน้ำ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นตามขวาง

อาจมีทั้งคลื่นกลและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก็ได้

2.2 คลื่นตามยาว ( Longitudinal Wave ) เป็นคลื่นที่มีทิศทางการสั่น

ของตัวกลางอยู่ในแนวขนานกับการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นเสียง คลื่นที่เกิดจาก

การอัดและการขยายตัวในขดลวดสปริง และคลื่นตามยาวทุกชนิดจะเป็นคลื่นกลทั้งสิ้น

3. จำแนกตามความต่อเนื่องของแหล่งกำเนิดแบ่งออกได้ 2 ชนิด

3.1 คลื่นดล ( PuLse Wave ) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดสั่น หรือรบกวนตัวกลางเป็น

ช่วงเวลาสั่นๆ แผ่ออกไปจำนวนน้อยๆ เพียง 1 หรือ 2 คลื่น เช่นการนิ้วจุ่มที่ผิวน้ำเพียงครั้งหรือ 2 ครั้ง

3.2 คลื่นต่อเนื่อง ( Continuous Wave ) เป็นคลื่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดสั่น หรือรบกวนตัวกลางอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดคลื่นแผ่ออกไปเป็นขบวนอย่างต่อเนื่อง เช่นการเกิดคลื่นผิวน้ำเนื่องจากแหล่งกำเนิดติดกับมอเตอร์ หรือการสบัดเชือกอย่างต่อเนื่อง



ที่มา. http://www.absorn.ac.th/e-learning/ebook/supatra/b4.htm

คลื่นในเส้นเชือกที่ปลายตรึง

คลื่นในเส้นเชือกที่ปลายตรึงไว้

1. ความเร็วในเส้นเชือก



T = ความตึงเชือก หน่วยเป็นนิวตัน

= มวลต่อหนึ่งหน่วยความยาวของเชือก หน่วยเป็น

กิโลกรัม/เมตร

ที่มา. http://www.bs.ac.th/lab2000/physicweb/sonic.htm

ความหมายของอัตราเร่งหรือความเร่ง

ความหมายของอัตราเร่งหรือความเร่ง คือ อัตราเร็วหรือ ความเร็วที่เปลี่ยนไปในหนึ่งหน่วยเวลาที่วัตถุมีการเคลื่อนที่

การคำนวณหาค่าอัตราเร่ง ทำได้โดยหาอัตราเร็วที่เปลี่ยนไปโดยใช้อัตราเร็วสุดท้ายของการเคลื่อนที่ลบด้วยอัตราเร็วเริ่มต้นของการเคลื่อนที่ หารด้วยเวลาที่ใช้เปลี่ยนค่าอัตราเร็วนั้น เช่น

กำหนดให้ เป็นอัตราเร็วเริ่มต้นของการเคลื่อนที่
เป็นอัตราเร็วสุดท้ายของการเคลื่อนที่
เป็นเวลาขณะที่เริ่มต้นการเคลื่อนที่
เป็นเวลาในช่วงสุดท้ายของการเคลื่อนที
เป็นค่าอัตราเร่งของการเคลื่อนที่
สมการแสดงความสัมพันธ์ คือ
หรือ ถ้า คือ ช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนค่าอัตราเร็ว (สมการที่ 2)
สำหรับสูตรในการคำนวณหาค่าความเร่ง ใช้สูตรเดียวกัน เพียงแต่ค่าความเร็วที่เปลี่ยนไปเป็นปริมาณสเกลลาร์

ที่มา. http://www.snr.ac.th/elearning/kosit/sec02p02.html

อัตราเร็ว

อัตราเร็ว และความเร็ว เป็นปริมาณที่แสดงให้ทราบลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุ ถ้าในทุก ๆ หน่วยเวลาของการเคลื่อนที่วัตถุเคลื่อนที่ด้วยขนาดของอัตราเร็ว หรือ ความเร็วเท่ากันตลอดการเคลื่อนที่ เรียกว่าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอหรืออัตราเร็วคงที่ ถ้าพิจราณาแล้วพบว่าในแต่ละหน่วยเวลาของการเคลื่อนที่วัตถุเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วหรือความเร็วที่แตกต่างกัน กล่าวว่า วัตถุเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร่ง หรือ ความเร่ง ในกรณีนี้การหาค่าอัตราเร็วหรือความเร็ว หาได้สองลักษณะคือ

อัตราเร็วขณะใดขณะหนึ่ง หรือความเร็วขณะใดขณะหนึ่ง เป็นการหาค่าอัตราเร็วหรือความเร็วในช่วงเวลาสั้น ๆ ช่วงใดช่วงหนึ่งของการเคลื่อนที่
อัตราเร็วเฉลี่ยหรือความเร็วเฉลี่ย เป็นการหาค่าอัตราเร็วหรือความเร็วหลังจากมีการเคลื่อนที่ โดยคำนวณหาจากการเฉลี่ยระยะทางทั้งหมดของการเคลื่อนที่ในหนึ่งหน่วยเวลาของการเคลื่อนที่ หรือการเฉลี่ยการกระจัดของการเคลื่อนที่ในหนึ่งหน่วยเวลา
ข้อสังเกต วัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอ ค่าอัตราเร็วขณะใดขณะหนึ่ง กับค่าอัตราเร็วเฉลี่ยมีค่าเท่ากัน

ที่มา.
http://www.snr.ac.th/elearning/kosit/sec02p01.html

แอมพลิจูด

แอมพลิจูด (อังกฤษ: amplitude) คือขนาดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการแกว่งตัวในระบบที่มีการแกว่ง ตัวอย่างเช่น คลื่นเสียง คือการแกว่งตัวของแรงดันในบรรยากาศ แอมพลิจูดของมันคือการเปลี่ยนแปลงของแรงดันในแต่ละรอบ ถ้าการเปลี่ยนแปลงนี้อยู่ในคาบการแกว่งตัวปกติ จะสามารถวาดเส้นกราฟของระบบออกมาโดยให้ค่าการเปลี่ยนแปลงเป็นแกนตั้ง และเส้นเวลาเป็นแกนนอน แสดงให้เห็นภาพของแอมพลิจูดเป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดขึ้นลงในแนวดิ่งระหว่างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด

ที่มา . th.wikipedia.org/wiki/แอมพลิจูด